๓. ประวัติพระปิฏกโกศลเถร (แก้ว)

 ประวัติพระปิฏกโกศลเถร (แก้ว)

00007

ประวัติพระปิฏกโกศลเถร (แก้ว)
พระปิฏกโกศลเถร หรือพระอาจารย์แก้ว ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๔ - ๒๒๘๕ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านเกิดที่เมืองพิจิตร พระอาจารย์
สุก พบท่านอยู่ในเพศปะขาว ถือศีลภาวนา อยู่ที่วัดสิงห์ เมืองพิจิตร การพบครั้งนั้นอยู่
ประมาณ ปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาประมาณ ปลายสมัยอยุธยา ต่อกับสมัยต้นธนบุรี ท่านปะขาวแก้ว ได้
บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดสิงห์ เมืองพิจิตรนั้นเอง ท่านอุปสมบทแล้ว นึกถึงพระอาจารย์
สุก และเลื่อมใสในพระอาจารย์สุก ท่านรำลึกนึกถึงอยู่ตลอดเวลา
สมัยต้นธนบุรีประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๑ ท่านได้ทราบข่าว พระอาจารย์
สุก มาสถิตวัดท่าหอย ท่านจึงจาริกตามมาอยู่กับพระอาจารย์สุก ณ วัดท่าหอย การมา
ครั้งนั้นท่านมากับเพื่อนสหธรรมิก ๒-๓ องค์ ซึ่งต่อมาเพื่อนสหธรรมิกของท่านได้แยก
ย้ายกันไป ตามสถานที่ต่างๆ
พระอาจารย์แก้ว เมื่อมาสถิตวัดท่าหอยแล้ว ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ กับพระอาจารย์สุก ภายในระยะเวลาเพียง ๖ เดือนเท่านั้น ท่านก็จบสมถะ-
วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ
กลางวันท่านเล่าเรียน พระบาลีมูลกัจจายน์ เบื้องต้นกับ พระอาจารย์สุก ต่อมา
พระอาจารย์สุก ส่งพระอาจารย์แก้ว กับพระอาจารย์ด้วง มาศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์
ชั้นสูง ต่อที่กรุงธนบุรี ณ วัดสลัก กับพระศรีสมโพธิ์(ศุก) ต่อมาเมื่อกรุงธนบุรีเกิดการ
จลาจลวุ่นวาย ท่านก็ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หนีความวุ่นวายเข้าป่าไป พร้อมกับเพื่อน
สหธรรมิกคือ พระอาจารย์ด้วง (พระญาณสังวร) ไปอยู่ป่า อันเงียบสงบ แขวงเมือง
อุตรดิตถ์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๐ ท่านทราบข่าวว่าพระอาจารย์สุก มากรุงเทพฯ เป็น
พระราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร(สุก) สถิตวัดพลับ ท่านจึงเดินทางจาริกออกมาจาก
ป่า แขวงเมืองอุตรดิตถ์ ท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์ด้วง มากราบนมัสการพระญาณ
สังวรเถร (สุก) มาสถิตวัดพลับ เพื่อศึกษารายละเอียดพระกรรมฐานมัชฌิมา เพิ่มเติม
กับพระญาณสังวรเถร (สุก)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ เป็น พระครูวินัยธร ถานานุกรม ของสมเด็จพระ
ญาณสังวร (สุก) และได้รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์บอกหนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ วันพฤหัส เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะโรง ได้รับ
พระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระปิฏกโกศลเถร เมื่ออายุ
ท่านได้ ๗๙ ปี เป็นปีที่สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวรเถร(สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการเข้าควบคุมการสอบสมาธิจิตทำ
การสังคายนา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นพระ
อาจารย์ผู้ช่วยบอกหนังสือ พระบาลีมูลกัจจายน์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ต่อมาเป็นเจ้า
อาวาสวัดราชสิทธาราม นิตยภัตเดิม ๒ ตำลึงกึ่ง เพิ่มอีกกึ่งตำลึง (๒ บาท) เป็น ๓ ตำลึง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม และประมาณ
ปลายปี ได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ อดีตมหาเถรผู้ใหญ่ของวัดราชสิทธิ์ทั้งเจ็ดองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้าง
เมรุโคลงไม้ขึงด้วยผ้าขาว ประดับด้วยกระดาษทอง กระดาษเงิน แขวนพวงดอกไม้ห้อย
ระย้า การทำเมรุครั้งนี้ทำใหญ่กว่าเมรุทั่วไป เพราะต้องตั้งพระสรีระสังขารพระมหาเถร
ถึงเจ็ดองค์ พร้อมพระราชทานพระโกศสำหรับพระพรหมมุนี (ชิต) และทรงน้อมสักการ
ถวายอีกหกองค์ด้วยในโกศเดียวกันนี้ พระสงฆ์คันถะธุระวิปัสสนาธุระ นั่งล้อมเมรุเป็น
หลายชั้น ถึงเวลาเสด็จพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นองค์
ประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระมหาเถรานุเถระทั้งปวง
การศึกษา สมัยพระปิฏกโกศล (แก้ว) ครองวัด
ด้านการศึกษาวิปัสสนาธุระมี พระญาณสังวรเถร (ด้วง) เป็นพระอาจารย์ใหญ่
พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระครูศีลวิสุทธิ์ (รุ่ง) ๑ พระครูศีลสมาจารย์ (บุญ) ๑ ฯ เป็นต้น
ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีมี พระปิฏกโกศล (แก้ว) เป็นพระอาจารย์ใหญ่
พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาทัด ๑ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระอาจารย์มหาเกษ๑
พระปิฎกโกศลเถร (แก้ว) เป็นเจ้าอาวาสได้ประมาณ ๑ ปีเศษ ก็
อาพาธด้วยโรคชรา และมรณะภาพลงเมื่อสิริรวมอายุได้ ๘๗ ปีเศษ