การอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๕๓ วันมาฆบูชา

 

การปฏิบัติธรรม วันมาฆบูชา
แนววิชชากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓
ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓
ณ สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ)
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

 

 

ตามที่สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดกิจกรรมการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญ เนื่องในวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันจาตุรงคสันนิบาต สืบเนื่องพระพุทธองค์สมณโคดมได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชา และบำเพ็ญน้อมถวายเป็นพระกุศลเฉลิมพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

 

สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตภาวนา เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

ตามสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางสายวิชชาประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (เจ้าประคุณสุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์

 

 

โดย พระสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ผจล. ชอ.วิ.) พระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน และคณะธรรมทายาท ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ)

  

******************************************

เนื่องด้วยต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สืบสานมาแต่พระราหุลเถระเจ้า

 

ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่านในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดา และเป็นอริยสาวกเจ้าที่มี เอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษา ทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
ทรงได้รับพระมหากรุณาพุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐาน จาก พระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยง และจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐ อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓ เบญขันธ์และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น
จนกระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้า ด้วยอิริยาบถไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรมก่อนเป็นพระอเสขบุคคล ทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิก ศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามา เพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน
 
ก่อนที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนา อธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ ของพระองค์ท่าน แบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑ กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์ คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๕๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่า พระราหุลเถระเจ้าท่าน จะมีกายก็ไม่ใช่ จะไม่มีกายก็ไม่ใช่
การฝึกอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 
ผ่านพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน
เบื้องต้น เพื่อปูพื้นฐาน ทำความเข้าใจสายวิชชา

เริ่มต้นจาก การกำหนดฐานใต้สะดือ ๒ นิ้ว

 


 

 

 

 

 

การอบรมกรรมฐานแนวปฏิบัติ จะอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์ใกล้ชิด
สลับการบรรยายธรรมจาก
พระพี่เลี้ยง
พระพี่เลี้ยง เสมือนผู้คอยรดน้ำพรวนดิน ช่วยปรับสภาพพื้นฐานการตั้งสภาวะจิต เตรียมพร้อมตั้งมั่น อบอุ่นใจ
(บรรดาพระพี่เลี้ยง คือ พระผู้หมั่นฝึกเพียรประสบการณ์ พร้อมเป็น ผู้เอื้อ)

 

 

 

 

ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับการศึกษาสดับพระธรรม จากครูบาอาจารย์

 

 

 

 

 นอกจากการฝึกนั่งกรรมฐานกำหนดจิตภาวนาแล้ว 
จะยังได้ฝึกศึกษาพิจารณาทุกขณะจิต เช่น
การกำหนดสติอิริยาบถยืน และเดินจงกรม
 

 

 

 

 

 

 

 

อานิสงส์ของการ“เดินจงกรม”
(๑) เดินทางบ่มีเจ็บแข้งเจ็บขา
(๒) ทำให้อาหารย่อยได้ดี
(๓) ทำให้เลือดลมเดินสะดวก
(๔) เวลาเดินจงกรมไปๆ มาๆ จิตจะลงเป็นสมาธิได้ สมาธิของผู้นั้นไม่เสื่อม
(๕) เทพยดาถือพานดอกไม้มา สาธุๆ มาอนุโมทนา
 

















 
 
 
 
 
นอกจากการอบรมกรรมฐานภาวนาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น ด้วยอานิสงฆ์แห่งการสาธยายเจริญมนต์ สมบุญกิริยาวัตถุ ๒๐ และกำหนดจิตแผ่เมตตาอัปมัญญาร่วมกัน 


สำนึกในพระคุณครูบาอาจารย์ สมเด้จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ต้นตำหรับพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนของการปฏิบัติ สายวิชชามัชฌิมากรรมฐาน แบบลำดับ จะรวมทั้งลำดับหมวดสมถะกรรมฐาน และลำดับหมวดวิปัสสนากรรมฐานเข้าไว้ด้วยกัน อย่างต่อเนื่อง

โดยเริ่ม ผู้มีจิตศรัทราในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

เมื่อแรกเรียน จิตยังไม่ตั้งมั่น เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย แรกเรียนใหม่ๆ จะต้องได้รับฝึกฝนให้เรียนเอายังพระกรรมฐานที่มีอานุภาพเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีอารมณ์แคบสั้น เป็นอนุสติ เป็นราก เป็นเง้า เป็นเค้า เป็นมูล ของพระกรรมฐานที่จะเปิดบานประตูไปสู่พระกรรมฐานอื่นๆ ได้ง่าย

ผู้ปฏิบัติจะต้องได้รับการฝึกฝนเริ่มจากลำดับสมถะ ( ซึ่งจะประกอบไปด้วยพระกรรมฐาน จำนวน ๓ ห้องพระกรรมฐาน ) เป็นการฝึกฝนตั้งกำลังสมาธิ เป็นพระกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด จนสมาธิเต็มขั้น หรือรูปเทียมของปฐมญาณ เพื่อจะยังอารมณ์ใจเข้าถึงองค์ปิติธรรม ซึ่งแต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน เพื่อเป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นบาทฐานสมาธิเบื้องสูงต่อ ๆ ไป

 
 
 

 
 

 
 

 

 
 
 
 
 
 
 

















































 


















 


















 

































































 


 


 


 


 


 







 
 

 
 







 




 
หมวดหมู่: