- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
๑๐. ประวัติพระญาณสังวร (ด้วง)
ดู ๔. ประวัติพระญาณสังวร (ด้วง) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
ประวัติพระญาณสังวร (ด้วง)
(ตัดคำว่า เถร ออก เพราะต่อมาคำรงตำแหน่งพระราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทิน
นามเดิม เทียบเท่าตำแหน่ง พระพุฒาจารย์)
พระญาณสังวร หรือพระอาจารย์ด้วง ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๙ - ๒๒๙๐ ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่านบรรพชา-
อุปสมบท ประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา ที่วัดน้อยใน แขวงกรุงเก่า ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
อุปสมบทแล้วไม่นาน บ้านเมืองไม่สงบ ท่านจึงจาริกออกไปจำพรรษา ณ วัดป่า
แขวงอุตรดิตถ์ พระอาจารย์ด้วง พบพระอาจารย์สุก ที่ป่าลึก แขวงเมืองพิษณุโลก สมัย
เริ่มต้นธนบุรี
พระอาจารย์ด้วง เกิด ความเลื่อมใสในปฏิปทาอันงาม ของพระอาจารย์สุก จึง
ติดตามพระองค์ท่านมาอยู่ที่วัดท่าหอย ประมาณต้นปีพระพุทธศักราช ๒๓๑๑ ท่าน
เดินทางสัญจรจาริกมาพร้อมเพื่อนสหธรรมิก ๓-๔ องค์ แต่ได้แยกย้ายกันระหว่างทาง
พระอาจารย์ด้วง ท่านมาสถิตวัดท่าหอยแล้ว ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ กับพระอาจารย์สุก อยู่นานประมาณ ๕ เดือนจึงจบ ทั้งสมถะ-วิปัสสนา
มัชฌิมา แบบลำดับ
ต่อมาพระอาจารย์ด้วง ท่านได้เล่าเรียนศึกษา พระบาลีมูลกัจจายน์ หรือพระบาลี
ใหญ่ กับพระอาจารย์สุก จนสิ้นความรู้พระบาลีเบื้องต้นจากพระอาจารย์สุก ต่อมาพระ
อาจารย์สุก ส่งพระอาจารย์ด้วง พร้อมกับพระอาจารย์แก้ว มาศึกษาพระบาลีชั้นสูง ต่อที่
กรุงธนบุรี ณ วัดสลัก กับพระศรีสมโพธ์ (ศุก)
ต่อมาภายหลัง ประมาณปลายรัชสมัยธนบุรี เกิดมีการจราจลวุ่นวาย พระ
อาจารย์ด้วง และพระอาจารย์แก้ว จึงออกสัญจรจาริกธุดงค์ หนีการจราจลวุ่นวาย ออก
เดินทางไปทางเหนือ จำศีลภาวนาอยู่ ณ ป่าลึก แขวงเมืองอุตรดิตถ์
ปีพระพุทธศักราช. ๒๓๓๐ ท่านทราบข่าวว่า พระอาจารย์สุก หรือพระญาณ
สังวรเถร (สุก) พระอาจารย์ใหญ่ มาสถิต ณ.วัดพลับ จึงเดินทางจาริก ออกมาจากวัดป่า
แขวงเมืองอุตรดิตถ์ มาวัดพลับ มาครั้งนั้นท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์แก้ว มากราบ
นมัสการพระอาจารย์สุก พร้อมกับมาขอศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อกับ
พระญาณสังวรเถร (สุก) กาลต่อมาพระญาณสังวรเถร (สุก) แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระ
อาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในรุ่นแรกๆของวัดพลับ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นพระครูปลัด ว่าที่ถานานุ
กรมชั้นที่หนึ่ง ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ณ. วันพฤหัส เดือนอ้าย ขึ้น ๙
ค่ำ ปีมะโรง โทศก ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระญาณสังวรเถร พระคณาจารย์เอก เมื่ออายุได้ ๗๓ ปี นิตย์ภัต ๒ ตำลึงกึ่ง รับพระราชทานพัดงาสาน สมัยที่ท่านดำรงชีวิตอยู่ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง ผู้คนนับ ถือเคารพยำเกรงมาก
กล่าวว่า ท่านมีความประพฤติ วัตรปฏิบัติงดงาม ทรงคุณธรรมสูงอย่าง
บูรพาจารย์ มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ท่านได้รับอาราธนาจาก พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ให้เข้าร่วมเป็นพระคณะกรรมการ เข้าควบคุมการสอบสมาธิจิต
ในการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็น
ครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ ประมาณปลายปี เป็นคณะกรรมการ หล่อพระรูป
สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ พระญาณสังวรเถร (ด้วง) นิตยภัตเดิม ๒ ตำลึงกึ่ง
ได้รับพระราชทานนิตยภัต เพิ่มอีกกึ่งตำลึง เป็น ๓ ตำลึง ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
และเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
การศึกษาสมัยท่านครองวัดราชสิทธาราม
ด้านการศึกษาวิปัสสนาธุระ พระญาณสังวรเถร (ด้วง) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระ
อาจารย์ผู้ช่วยคือ พระครูศีลวิสุทธิ์ (รุ่ง) ๑ พระครูศีลสมาจารย์ (บุญ) ๑ พระอาจารย์มี ๑
พระอาจารย์เมฆ ๑
ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลี พระมหาทัด เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระ
อาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์มหาเกิด ๑ พระอาจารย์มหาเกด ๑
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ต้นปี ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพิ่มเป็น ๔ ตำลึงกึง
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ กลางปีพระญาณสังวรเถร (ด้วง) ได้รับพระราชทาน
เลื่อนสมณศักด์ิเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ในราชทินนามเดิมที่ พระญาณสังวร (ตัดคำว่า
เถร ออก) ได้รับพระราชทานนิตยภัตเป็น ๕ ตำลึง สูงกว่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์
ตำแหน่งพระพุฒาจารย์ ว่างมาแล้ว ๗ ปี มีสร้อยนามดังนี้
สำเนา แต่งตั้งให้พระญาณสังวรเถรเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระญาณสังวร สุนทรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิ์ จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศิลอนันต์ อรัญวาสี สถิตในวัดราชสิทธาวาส พระอารามหลวงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระราชทานพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ให้พระญาณสังวร (ด้วง)
อีก ๑ ด้าม พระราชทานพัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๑ ด้าม
เวลานั้นพระญาณสังวร (ด้วง) ท่านมีพรรษายุกาลมากกว่า พระมหาเถรผู้ใหญ่ทั้ง
ปวงในสมัยนั้น โดยเฉพาะท่านมีพรรษายุกาลมากกว่า สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เมื่อมี
กิจนิมนต์ในพระบรมมหาพระราชวัง พระญาณสังวร(ด้วง) นั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช
(ด่อน) สมัยนั้นพระสงฆ์เคารพพรรษา เคารพพระวินัย เคารพคุณธรรมเป็นอย่างยิ่ง
พระญาณสังวร (ด้วง) ท่านเป็นสัทธิวิหาริก เป็นศิษย์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เวลา
นั้นยังไม่ ทรงยกเลิกธรรมเนียมอาวุโสทางพรรษา
อธิบาย ตำแหน่งพระญาณสังวรเถร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ทรงแต่งตั้งเมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ทรงอาราธนาพระ
อาจารย์สุก มากรุงเทพ ทรงแต่งตั้งเป็น พระญาณสังวรเถร เจ้าคณะรองอรัญวาสี ต่อมา
เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี เมื่อคราวสถาปนาเป็นสมเด็จราชาคณะ ส่วนเจ้าคณะรอง
อรัญวาสีเดิม คือพระญาณไตรโลก อยู่วัดเลียบ เลื่อนเป็นที่พระพรหมมุนี ในรัชกาลที่ ๑
ตำแหน่งพระญาณไตรโลกจึงว่างลง
อนึ่ง หลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังการีขวา ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นอดีตพระพิมล
ธรรม มาก่อนนั้น ต้องสึกครั้งแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าต้องอธิกรอทินนาทาน ทรง
แคลงพระราชหฤทัยอยู่ จึงทรงให้พิจารณาไล่เลียงดูใหม่แล้ว ทรงเห็นว่าบริสุทธิ์อยู่หา
ขาดสิกขาไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บวชเข้ามาใหม่ ให้เป็นพระญาณไตรโลก
อยู่วัดสลัก (วัดมหาธาตุ) แต่นั้นมาตำแหน่ง พระญาณไตรโลก ก็เป็นตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ,จากหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด สมุดไทยดำ เล่มที่ ๑๐ เลขที่ ๒ ง. ๒๘ ว่า
พระพิมลธรรม ๑ พระธรรมอุดม ๑ พระญาณสังวร ๑ พระมหาสุเมธ ๑ พระพุทธโฆษา
๑ พระพรหมมุนี ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระธรรมไตรโลก ๑ พระธรรมราชา ๑ ราชาคณะ
ผู้ใหญ่ ๙ องค์นี้ ถึงแก่มรณะภาพเข้าโกศ
ตำแหน่งพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี วัดราชสิทธาราม (พลับ) เมื่อ
มรณะภาพเข้าโกศมี ๔ องค์คือ
๑.พระญาณสังวรเถร (สุก) ทรงแต่งตั้งพ.ศ. ๒๓๒๖ เป็นเจ้าคณะรองอรัญวาสี
พ.ศ. ๒๓๕๙ สถาปนาเป็นสมเด็จราชาคณะ ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๒ พระราชทานพระโกศทองใหญ่
๒.พระญาณสังวรเถร (ด้วง) ทรงแต่งตั้งพ.ศ. ๒๓๖๓ ตำแหน่งเจ้าคณะรอง
อรัญวาสี ต่อมาพ.ศ. ๒๓๖๙ เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ในราชทินนามเดิมที่ พระ
ญาณสังวร สูงกว่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์ ดำรงค์ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
มรณะภาพในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานโกศเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
๓.พระญาณสังวรเถรเถร (บุญ) ทรงแต่งตั้งพ.ศ. ๒๓๘๖ เป็นเจ้าคณะรอง
อรัญวาสี ปีนั้นทรงแต่งตั้งพระพรหมมุนี (สนธ์)วัดสระเกศ เป็นพระพุฒาจารย์ด้วย พ.ศ.๒๓๘๘ พระญาณสังวรเถร (บุญ) เลื่อนที่เป็นราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทินนามเดิมที่ พระ
ญาณสังวร เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ให้พระพุฒาจารย์ (สน) เป็นเจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี กิตติมาศักดิ์ พระญาณสังวร (บุญ)มรณะภาพในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานโกศ
เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
สิ่งที่พระญาณสังวร (เถร) ทรงเหมือน และเหมือนกันคือ
๑.ได้รับพระราชทานพัดสองด้ามคือ พัดงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ๑ พัดแฉกทรง
พุ่มข้าวบิณฑ์ สำหรับตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ๑ แต่ต่างชั้นกัน
๒.นั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช เนื่องจากทั้งสามท่านมีพรรษายุกาลมากกว่า
สมเด็จพระสังฆราชถึง ๑๕ พรรษา คณะสงฆ์ราชาคณะสมัยรัชกาลที่ ๑-๒-๓ ถืออาวุโส
ทางพรรษาตามพระธรรมวินัยมาก่อนอาวุโสทางสมณศักดิ์ เรื่องนี้ถกเถียงกันมานาน มา
เปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯถืออาวุโสทางสมณศักดิ์
๓.เป็นรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน เป็นพระอาจารย์กรรมฐานของ สมเด็จพระสังฆราช
พระเถรผู้ใหญ่ และได้การยอมรับนับถือจากพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ วงศ์
การคณะสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อยว่า เป็นผู้ทรงคุณธรรมสูง ทรงคุณวิเศษใน
พระพุทธศาสนา
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)ไก่เถื่อน ทรงนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช (มี)
พระญาณสังวร (ด้วง) นั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
พระญาณสังวร (บุญ) นั่งหน้าสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาถึงรัช
สมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงยกเลิก ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ให้คำรง ตำแหน่งสกลมหา
สังฆปริณายก แทน
เหตุที่ พระญาณสังวร (บุญ) นั่งหน้าพระเถรผู้ใหญ่ทั้งปวงเวลานั้นเพราะท่าน
มีพรรษายุกาลมากกว่าพระเถรทั้งปวงถึง ๑๐ กว่าพรรษา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๙ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะ
ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ขณะมีพระชนมายุได้ ๘๕ พรรษา ทรง
ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ๓ ปี ต่อมาทรงชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปฏิบัติ
หน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงทำหน้าที่แทนสมเด็จ
พระสังฆราช อยู่ ๓ ปี
พระญาณสังวร (บุญ เกิด พ.ศ.๒๓๑๗) นั่งหน้ากรมหมื่นนุชิตชิโนรส (ประสูติ
๒๓๓๓) เพราะมีชนมายุพรรษามากกว่า กรมหมื่นนุชิตชิโนรสถึง ๑๖ พรรษา ต่อมาปี
พระพุทธศักราช ๒๓๙๒ สมเด็จพระสังฆราช(นาค) วัดราชบูรณะ และสมเด็จพระพน
รัตน์ (ฤกษ์)วัดระฆัง มรณะภาพลง ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ตำแหน่งสมเด็จพระ
พนรัตนว่างลง เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ยังไม่ทรงสถาปนา
ทรงปล่อยว่างไว้ทั้งสองตำแหน่ง เป็นเวลาถึงสองปี ทรงมาสถาปนาในรัชกาลที่ ๔
รวมทั้งตำแหน่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็ว่างเช่นกัน เวลานั้น
คงมีแต่ ตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลก พระพุฒาจารย์ (สนธิ์) วัดสระ
เกศ
ครั้งนั้น พระญาณสังวร (บุญ) ท่านเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ในราชทินนามเดิม
จึงมีพรรษายุกาลมากที่สุด จึงนั่งหน้าพระมหาเถรทั้งปวง แต่ท่านไม่ได้นั่งหน้าสมเด็จ
พระสังฆราช (นาค) เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (นาค)มีพรรษามากกว่าพระญาณ
สังวร (บุญ) ถึง ๑๖ พรรษา แต่พระญาณสังวร (บุญ) ท่านนั่งหน้ากรมหมื่นนุชิตชิโนรส
ฯ
ต่อมาปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๔ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯได้ทำพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสฯเป็น กรมสมเด็จ
พระปรมานุชิตชิโนรส ตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก แทนตำแหน่งสมเด็จ
พระสังฆราช เดิม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้ง ตำแหน่งพระราชาคณะ
ผู้ใหญ่ ที่ว่างอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่๓ ดังนี้………..
ให้พระธรรมอุดม (เซ่ง) วัดอรุณราชวราราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จ
พระวันรัต
ให้พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลก เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จ
พระพุทธโฆษาจารย์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายไปครองวัดมหาธาตุฯ
ให้พระพุฒาจารย์ (สนธิ์) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระ
พุฒาจารย์
ครั้งนั้นพระญาณสังวร (บุญ) ยังคงนั่งหน้าพระมหาเถรทั้งปวง เพราะเป็น
พระราชาคณะผู้ใหญ่ที่มีพรรษาสูงกว่าพระมหาเถรทั้งปวง
สมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๒ พระองค์ สมเด็จสกลมหาสังฆปริณายก ๑ องค์ คือ
สมเด็จพระสังฆราช (มี) สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) และกรมสมเด็จพระปรมานุชิต
ชิโนรส สกลมหาสังฆปริณายก ล้วนทรงเป็นศิษย์เสด็จมาทรงศึกษาพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ในครั้งนั้นพระญาณ
สังวร (ด้วง) พระญาณสังวร (บุญ) เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน
ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ
ยังได้ทรงมาต่อพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระญาณสังวร (ด้วง) พระญาณ
สังวร (บุญ) เนืองๆก่อน และหลังสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช และสกลมหาสังฆป
รินายก
๔.พระญาณสังวรทั้งสามพระองค์ ได้รับพระราชทานพระโกศ และโกศ จากพระ
เจ้าแผ่นดิน แต่โกศนั้นต่างชั้นกัน ตำแหน่งพระญาณสังวร สุนทรสังฆเถราฯ เจ้าคณะ
ใหญ่อรัญวาสี เมื่อมรณะภาพเข้าโกศ
สมัยรัชกาลที่๔ ทรงแต่งตั้งตำแหน่ง พระสังวรานุวงศ์เถร แทนตำแหน่ง พระ
ญาณสังวรเถร ชั้นสามัญเดิม ตำแหน่งพระญาณสังวรเถรเดิมนั้น ต่อมาในรัชกาลที่ ๓
ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ สูงกว่าตำแหน่ง พระพุฒาจารย์
ทำเนียบการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ และการแต่งตั้งพระราชาคณะ
ฝ่ายวิปัสสนาธุระในราชทินนามที่ พระญาณสังวร (เถร)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑
๑.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ ทรงแต่งตั้งเป็นราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระ
ญาณสังวรเถร (สุก)
สถิตวัดราชสิทธาราม เจ้าคณะรองอรัญวาสี
๒.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่
พระญาณสังวร
๓.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ สถาปนาพระญาณสังวรเป็น สมเด็จพระญาณ
สังวร อดิศรสังฆเถรา
สัตตวิสุทธิจริยา ปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี ดำรง
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
๔.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก)เป็น
สมเด็จพระสังฆราช เมื่อสิ้นพระชนม์ ลงพระราชทานพระโกศทองใหญ่
รัชกาลที่ ๒
๑.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๓ ทรงแต่งตั้ง พระญาณสังวรเถร (ด้วง) วัดราช
สิทธาราม เจ้าคณะอรัญวาสี
๒.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๙ ทรงแต่งตั้งพระญาณสังวรเถร (ด้วง)เป็นพระราชา
คณะผู้ใหญ่
เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ในราชทินนามเดิมที่ พระญาณสังวร มีสร้อยราชทินนามดังนี้
พระญาณสังวร สุนทรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิ์ จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดม
ศีลอนันต์ อรัญวาสี สูงกว่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์เดิม ตำแหน่งพระพุฒาจารย์ (เป้า)เดิม
เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า) ไปครองวัดธรรมาวาส
แขวงกรุงเก่า ในรัชกาลที่ ๒
พระญาณสังวร (ด้วง) เมื่อมรณะภาพ ทรงพระราชทานโกศ เจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี
พระญาณสังวร (ด้วง) บรรพชาอุปสมบท และศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ครั้งเป็นพระอธิการ อยู่วัดท่าหอย
ต่อมาย้ายมาอยู่วัดราชสิทธาราม (พลับ)
รัชกาลที่ ๓
๑.ปีพระพุทธศักราช. ๒๓๘๖ ทรงแต่งตั้ง พระญาณสังวรเถร (บุญ) เจ้าคณะ
อรัญวาสี วัดราชสิทธิ์
๒.ปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๘ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
ในราชทินนามเดิมที่ พระญาณสังวร มีสร้อยราชทินนามดังนี้………
พระญาณสังวร สุนทรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิ์ จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหา
อุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี
สูงกว่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์เดิม ตำแหน่งพระพุฒาจารย์ (สนธิ์)เดิม เลื่อน
เป็นสมเด็จราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) ครองวัดสระเกศ ในรัชกาลที่ ๔
เป็นพระราชาคณะฤกษ์
พระญาณสังวร (บุญ) บรรพชาอุปสมบท ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ กับพระญาณสังวรเถร (สุก ไก่เถื่อน )ที่วัดราชสิทธาราม (พลับ) เมื่อมรณะภาพ
ทรงพระราชทานโกศ เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
รัชกาลที่ ๔
๑.พระญาณสังวร (บุญ) มีชีวิตอยู่มาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ มรณะภาพเมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๙๗
ต่อมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ก็ไม่ทรงโปรด แต่งตั้งตำแหน่งพระญาณสังวร อีก
ตำแหน่ง พระญาณสังวร (เถร) จึงว่างลงในรัชกาลนี้ เหตุที่ว่างเพราะ ในรัชสมัย
รัชกาลที่ ๓ ตำแหน่งพระญาณสังวร (เถร) ถูกยกขึ้นเป็นตำแหน่งพระราชาคณะชั้น
ผู้ใหญ่ สูงกว่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์ ตำแหน่งพระญาณสังวร จึงว่างลงในรัชกาลนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ทรงทรงตั้งมหาเป้า เป็นพระพุฒา
จารย์ ต่อมาพ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ เลื่อนพระพุฒาจารย์ (เป้า) เป็นสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ โปรดเกล้าฯให้ไปครองวัดธรรมาวาส กรุงเก่า สมเด็จพระพุฒาจารย์
(เป้า)มรณะภาพในต้นรัชกาลที่๓ ตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงว่างลงถึง ๑๗ ปี
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๗-พ.ศ. ๒๓๘๕
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ ในรัชกาลที่ ๔ จึงทรงแต่งตั้ง ตำแหน่งพระราชาคณะ
ที่ พระสังวรานุวงศ์เถร(เมฆ) แทนตำแหน่ง พระญาณสังวรเถรเดิม พระสังวรานุวงศ์เถร
หมายความว่า วงศ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช
ไก่เถื่อน
พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ท่านบรรพชาอุปสมบท ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถร (สุก ไก่เถื่อน) อยู่ที่วัดราชสิทธาราม
ท่านมีอายุอยู่ยาวนานถึง ๑๐๖ ปี มรณะภาพลงในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีพระพุทธศักราช
๒๓๒๙
รัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงรื้อฟื้น ตำแหน่งพระญาณสังวร
เถร ขึ้นมาใหม่ ทรงแต่งตั้งให้เป็นชั้นสามัญตามเดิม เหตุที่ไม่ทรงตั้งที่วัดพลับ เพราะ
เวลานั้นที่วัดพลับมี ตำแหน่งพระสังวรานุวงศ์เถร แทนตำแหน่งพระญาณสังวรเถรอยู่
แล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พระครูวินยานุบุรณาจารย์ (ช้าง) วัด
โปรดเกษเชฏฐาราม เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณสังวรเถร (ช้าง)
เนื่องจากพระครูวินยานุบุรณาจารย์ (ช้าง) บรรพชาอุปสมบทอยู่วัดพลับ ศึกษา
อักขรสมัย และศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับอยู่วัดพลับ มากับพระญาณสังวร
(บุญ)วัดพลับ
พระปลัดช้าง ศึกษาพระกรรมฐานรุ่นเดียวกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัด
พลับ ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๑๐ ในรัชกาลที่๔ พระปลัดช้าง ย้ายไปวัด
โปรดเกษเชฏฐาราม พระปลัดช้าง ท่านเป็นเชื้อสายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของพระญาณสังวร (บุญ) วัดพลับ
ต้นปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๒ พระปลัดช้าง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
พระครูวิปัสสนาธุระที่ พระครูวินยานุบุรณาจารย์
กลางปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๒ ทรงแต่งตั้งพระครูวินยานุบุรณาจารย์ (ช้าง)
เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณสังวรเถร (ช้าง) เจ้าคณะอรัญวาสีหัว
เมือง วัดโปรดเกษเชฎฐาราม เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมื่อถึงแก่มรณะภาพลง ทรง
พระราชทานหีบทองทึบ
(จากหอจดหมายเหตุ เลขที่ ๒๗ เรื่องพระญาณสังวรเถรมรณะภาพ ร.ศ ๑๑๙
หน้า ๑ ๓/๙๕ รหัสไมโครฟิลม์ มร. ๕.ศ /๓๒)
รัชกาลที่ ๖-๗-๘
ตำแหน่งพระญาณสังวรเถร ว่างลง เนื่องจากเวลานั้นวัดพลับ มีตำแหน่งพระสังว
รานุวงศ์เถร แทนตำแหน่ง พระญาณสังวรเถร อยู่แล้ว ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่ ๗ ที่๘
วัดพลับมี ตำแหน่งพระสังวรานุวงศ์เถรอยู่ถึง ๓ พระองค์คือ พระสังวรานุวงศ์
เถร (เอี่ยม) พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) พระสังวรานุวงศ์เถร (สอน)ๆ เป็นองค์สุดท้ายใน
รัชกาลที่ ๙ พระสังวรานุวงศ์เถร (สอน) มรณะภาพลง ในขณะที่คำรงตำแหน่งชั้นราช
ในราชทินนามที่ พระสังวรานุวงศ์เถรเมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระสังวรานุวงศ์
ทั้งสามองค์มีตำแหน่งเสมอชั้นราช ในกาลต่อมา
รัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงรื้อ
ฟื้น ตำแหน่งพระญาณสังวร ขึ้นมาใหม่ ทรงสถาปนาขึ้นในชั้นของ สมเด็จพระราชา
คณะ
ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงสถาปนาพระศาสนโสภณ (เจริญ) วัดบวรนิเวศ
วิหาร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริสรธรรม ตรีปิฏกป
ริยัติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุติกคณิสร บวรสังฆาราม
คามวาสี อรัญวาสี
ปัจจุบันสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชฯ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๑ สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ ขอพระราชทานรา
ชานุญาติ จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว ขอพระญาณสังวร (ด้วง) วัดราช
สิทธาราม ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดประยูร รูปแรก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดเกล้าฯให้พระญาณสังวร (ด้วง) ย้ายไป
เป็นเจ้าอาวาสวัดประยูร ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดประยูรได้ระยะหนึ่ง พระปิฏก
โกศลเถร (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ได้ถึงแก่มรณภาพลง พระญาณสังวร (ด้วง)
จึงย้ายกลับมาเป็น เจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เพื่อดูแล พระกรรมฐาน
เพราะวัดราชสิทธารามเป็นวัดกรรมฐาน ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องมีพระ
อาจารย์กรรมฐาน เป็นผู้สามารถ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๓–๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว
ทรงให้สถาปนาพระสถูปเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พร้อมเจดีย์เล็ก ล้อมเป็นบริวาร ๔ ทิศ
ไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ เพื่อบรรจุ พระอัฏฐิธาตุ ของสมเด็จพระสังฆราชไก่
เถื่อน พระอาจารย์สี พระญาณโพธิ์เถร(ขาว) พระวินัยรักขิต(ฮั่น) พระครูวินัยธรรม (กัน) พระญาณวิสุทธิ์เถร(เจ้า) พระญาณโกศลเถร(มาก) พระเทพโมลี(กลิ่น) พระปิฏก
โกศล(แก้ว) และพระอาจารย์ดำ
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๕ พระญาณสังวรเถร(ด้วง) ครองวัดราชสิทธารามอยู่
ประมาณ ๔ ปี ทางวัดประยูรวงศ์เกิดเหตุการณ์บางอย่าง เนื่องจากพระญาณไตรโลก
(ขำ) ได้มรณภาพลง ผู้สร้างวัดทั้งสองท่านไม่อาจตกลง เรื่องผู้ที่จะมาเป็นเจ้าอาวาสได้
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงได้ทรงพระกรุณา
โปรดกล้าฯให้อาราธนานิมนต์ พระญาณสังวร(ด้วง) เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ผู้เป็น
ศิษย์ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ไประงับเหตุ และให้ไปครองวัดประยูรวงศ์ เป็นครั้ง
ที่ ๒ พร้อมทั้งดูแลวัดราชสิทธาราม อีกด้วย
กาลต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง พระเทพโมลี (จี่)
ไปครองวัดประยูร พระญาณสังวร (ด้วง) ก็กลับมาวัดราชสิทธาราม แต่วัดประยูรครั้ง
นั้นอยู่ในเขตปกครองของ พระญาณสังวร (ด้วง) ท่านจึงไป-มาระหว่างวัดพลับ กับวัด
ประยูรเสมอ
สมัยนั้นพระญาณสังวร (ด้วง) ท่านเป็นพระมหาเถระที่ พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้านายในพระราชวงศ์ ทางราชการคณะสงฆ์ และบรรดาญาติ
โยมทั้งหลาย ให้ความเคารพนับถือยำเกรงท่านเป็นอันมาก ท่านเป็นพระมหาเถรผู้ทรง
คุณธรรมสูง ทรงคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา เป็นรัตตัญญูผู้รู้ราตรีนาน ผู้คนทั้งหลาย
ในสมัยนั้น มักเรียกขานนามของท่านว่า หลวงปู่ใหญ่ เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ไปครองวัด
ประยูรวงศ์แล้ว เรื่องราวต่างๆก็สงบราบคาบลง ท่านครองวัดประยูรวงศ์แล้ว ท่านก็
ยังคงครองวัดพลับอยู่เช่นเดิมด้วย ท่านครองทั้งสองพระอาราม ท่านไปๆมาๆ ระหว่างวัดพลับ กับวัดประยูรวงศ์ กลางวันไปวัดประยูรฯ กลางคืนมาวัดพลับ ที่วัดพลับท่านมี ภาระหน้าที่ใหญ่คือ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ดูแลศูนย์กลางกรรมฐาน
ของรัตนโกสินทร์
ดังที่กล่าวมาแล้ว หลังจากวัดประยูร สงบราบคาบลงแล้ว ท่านก็กลับมาวัดราช
สิทธาราม จากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระเทพโมลี (จี่) ไปครองวัดประยูร แทน ต่อมาได้เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่)
ในสมัยนั้นมีพระสงฆ์มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับกัน
มากมาย พระญาณสังวร (ด้วง) จึงแต่งตั้งให้ พระครูญาณมุนี (สน) ๑ พระครูญาณกิจ
(ด้วง) ๑ พระอาจารย์รุ่ง(พระญาณโกศลเถร) ๑ พระอาจารย์บุญ ๑(พระญาณสังวร)พระ
อาจารย์มี ๑(พระโยคาภิรัต)พระอาจารย์เมฆ ๑ (พระสังวรานุวงษ์เถร) และอีกหลายท่าน
ที่ไม่ปรากฏนาม เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยท่าน บอกพระกรรมฐาน ช่วยรักษาความ
เรียบร้อย ของวัดราชสิทธารามด้วย
เหตุนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกขานนามท่านว่า หลวงปู่ใหญ่ เพราะท่านควบคุมพระ
อาจารย์บอกพระกรรมฐาน วัดพลับถึง ๑๐ กว่าองค์ เหตุที่ท่านปกครองทั้งสองวัด เพราะ
พระสงฆ์ที่วัดพลับ และวัดประยูรส่วนใหญ่เวลานั้นเป็นสัทธิวิหาริก และเป็นศิษย์ของ
ท่านโดยมาก และเคารพในพระอาจารย์ผู้มีคุณธรรมสูง เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังไม่มี
ใครกล้าทับที่ ตีเสมอครูบาอาจารย์
เวลานั้น พระสงฆ์ในกรุงนอกกรุง และหัวเมืองใกล้เคียง ล้วนเดินทางมาศึกษา
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับในสำนักพระญาณสังวร (ด้วง) กันเป็นอันมาก เพราะ
เป็นวัดกรรมฐานหลักวัดอรัญวาสีใหญ่ เสมือนมหาวิทยาลัยกรรมฐานที่มีชื่อเสียง ทาง
ราชสำนักจึงได้ถวายนิตยภัต แก่พระสงฆ์ที่มาศึกษาพระกรรมฐานในวัดราชสิทธารามนี้
ด้วย
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๙ ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา อยู่ที่วัดประยูร
ต่อมาพระญาณสังวร(ด้วง) ได้ย้ายมาพักฟื้น อยู่ที่วัดราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เสด็จมาทรงเยี่ยมอาการอาพาธของพระญาณสังวร (ด้วง) เนื่องจาก
ทรงคุ้นเคยกับพระญาณสังวร (ด้วง) มาช้านาน แต่ครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดราช
สิทธาราม และทรงนับถือว่าพระญาณสังวร (ด้วง) เป็นพระอาจารย์องค์หนึ่ง
เมื่อพระญาณสังวร (ด้วง) ถึงแก่มรณะภาพลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชทานโกศเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ถวายพระญาณสังวร (ด้วง) ตาม
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
คำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า พระพิมลธรรม ๑ พระธรรมอุดม ๑ พระญาณสังวร
๑ พระมหาสุเมธ ๑ พระพุทธโฆษา ๑ พระพรหมมุนี ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระธรรมไตร
โลกย์ ๑ พระธรรมราชา ๑ พระราชาคณะผู้ใหญ่ ๙ องค์นี้ จะพระราชทานโกศนั้น ต้อง
โกศตู้สี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าชั้นหนึ่งมีเครื่องสูงตีพิมพ์แปดคัน กลองชนะเขียว ๕ คู่
จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศ และในวัดราชสิทธาราม(พลับ) นี้ มีได้รับพระราชทาน
พระโกศตู้สี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าชั้นหนึ่งมีเครื่องสูงตีพิมพ์แปดคัน กลองชนะเขียว
๕ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศ ๓ องค์คือ เจ้าคุณหอไตร(ชิต) ๑ พระญาณสังวร
(ด้วง)๑ พระญาณสังวร(บุญ) ๑
ก่อนพระญาณสังวร (ด้วง) จะถึงแก่มรณะภาพที่วัดราชสิทธารามนั้น ท่านได้
มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาลของ สำคัญประจำวัด ประจำพระกรรมฐานมัชฌิมา ไว้ให้แก่พระ
อาจารย์บุญ หรือพระญาณสังวร (บุญ) ผู้สืบทอดพระกรรมฐานองค์ต่อมา
ทรงคณะสงฆ์วัดราชสิทธาราม ตั้งสรีระของท่านไว้ในหีบทองทึบด้านหลังฉาก
พระโกศ ตั้งไว้ด้านหน้าฉาก ตั้ง ณ. ศาลาการเปรียญหลังเก่า ด้านหลังพระอุโบสถ ท่าน
มรณะภาพที่วัดราชสิทธาราม ซึ่งเป็นพระอารามเดิมของท่าน สิริรวมอายุได้ ๘๙ - ๙๐ ปี
สรีระของท่านเก็บบำเพ็ญกุศลไว้นานถึง ๕ ปี จึงพระราชทานเพลิงศพ ณ. เมรุวัดราช
สิทธาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สร้าง
เมรุลอยทำด้วยโคลงไม้ ขึงผ้าขาว ประดับด้วยลวดลายกระดาษทอง กระดาษเงิน ห้อย
พวงดอกไม้ประดับบนเมรุ
การประดับประดาครั้งนั้นมากนัก และสวยงาม เมื่อใกล้เวลาประชุมเพลิง
พระสงฆ์สมถะวิปัสสนา มากันมากมาย นั่งล้อมรอบเมรุเป็น ๓-๔ ชั้น ผู้คนแน่นขนัด
ลานวัด ถึงเวลาพระราชทานเพลิง เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จ
พระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เหตุที่เก็บสรีระสังขารของท่านไว้
นานเพราะ ท่านมีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์ ฆราวาสมากมาย ตลอดระยะเวลาเกือบ ๕ ปีมีการ
บำเพ็ญกุศลตลอด อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ยังไม่ทรงว่างพระราช
ภาระกิจ การพระราชทานเพลิงศพจึงยังคงค้างอยู่หลายปี
หลังจากงานพระราชทานเพลิง พระญาณสังวร (ด้วง) เสร็จสิ้นแล้ว เกิด
เหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นบางประการ เกี่ยวกับอัฏฐิธาตุ บริขาร และไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอด
ตาล ของพระญาณสังวร (ด้วง) คณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ ทางวัดประยูร มา
ทวงอัฏฐิธาตุ บริขาร และไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร(ด้วง) เพื่อ
นำไปบรรจุ ไว้ ณ วัดประยูรวงศ์
ต่อมา คณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ วัดราชสิทธาราม ได้มอบอัฏฐิธาตุ
และบริขาร ของพระญาณสังวร (ด้วง) ให้ทางคณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ ทาง
วัดประยูร แห่นำไปบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์ใหญ่ วัดประยูร อัฏฐิ และบริขาร ของพระ
ญาณสังวร(ด้วง) จึงสถิต ณ พระเจดีย์ใหญ่ วัดประยูร จนถึงทุกวันนี้
ส่วนไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล พระญาณสังวร (ด้วง) ท่านได้มอบให้แก่ พระ
อาจารย์บุญ หรือพระญาณสังวร (บุญ) วัดราชสิทธารามไว้แล้ว คณะสงฆ์ คณะญาติ
โยม คณะขุนนาง ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมแล้ว เรื่องราวทั้งหลายจึงยุติลงด้วยดี
ทางวัดประยูรวงศ์ได้ อัฏฐิธาตุ และบริขาร ของ พระญาณสังวร (ด้วง) ทางวัด
ราชสิทธาราม ได้ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร (ด้วง) อันสืบทอดมา
แต่โบราณกาล ครั้งสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ยังทรงพระชนม์อยู่
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 13367 reads
Recent comments