- หน้าแรก
- พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
- เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
- ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
- พระเครื่องและวัตถุมงคลยุคพระครูสิทธิสังวร
- ทำเนียบเจ้าอาวาส
- ทำเนียบกรรมฐาน
- ประวัติตำแหน่ง
- ประวัติพระครูสิทธิสังวร
- เรื่องกรรมฐาน
- พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
- ไม้เท้าพระราหุล
- ไม้เท้าพระพุทธเจ้า
- ตำนานพระฤาษี
- พระเครื่องวัดพลับ
- รวมลิงก์ธรรม
- แผนที่และข้อมูลติดต่อ
๒๐. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
ดู ๑๒. ประวัติพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)
พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า ชุ่ม เป็นบุตรนายอ่อน โพอ่อน นางขลิบ โพ
อ่อน เกิดที่ตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันพุธ แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ในต้น
รัชกาลที่ ๔ ได้เล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี ในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม
ตั้งแต่ ๑๐ ขวบ
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชกาลที่ ๔ อายุ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนัก
พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ได้ศึกษาอยู่ตลอดมา ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่๕ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบท ณ. พัทธ
สีมา วัดราชสิทธาราม พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโต เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร
(เมฆ) และศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ครั้งยังเป็นพระครู
สังวรสมาธิวัตร แล้วได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นประจำทุกปี
ต่อมาได้รับสืบทอดไม้เท้า ไผ่ยอดตาล จากพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) องค์พระอุปัชฌาย์
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ เป็นเจ้าคณะหมวด เมื่อพรรษาได้ ๔ พรรษา
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นพระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของ
พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๗ พรรษา ๑๐ เป็นพระสมุห์ ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๒
ของพระอมรเมธาจารย์ (เกษ)ในพรรษานั้นท่านได้รับแต่งตั้งจาก พระสังวรานุวงศ์เถร
(เมฆ)ให้เป็น พระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ พรรษาที่ ๑๒ ได้เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่
๑ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูชั้นพิเศษ
ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสที่ พระครูสังวรสมาธิวัตร ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๗
บาท และในปีเดียวกันนี้ พระครูสังวรสมาธิวัตร(ชุ่ม) ได้รับแต่งตั้งเป็น พระคณาจารย์
เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชา
คณะสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสังวรานุวงศ์เถร รับพระราชทานพัดงาสาน เป็นองค์
สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๑๒ บาท
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๘ พระสุธรรมสังวร (ม่วง) ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดราช
สิทธาราม กลับไปวัดเดิม พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด
ราชสิทธาราม เป็นองค์ต่อมา และเป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มณฑลธนบุรี นับเป็นองค์
สุดท้าย ที่เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ได้เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ประจำมณฑลธนบุรี
และได้รับพระราชทาน พัดงาสาน เป็นองค์สุดท้าย ของวัดราชสิทธาราม ผู้คนทั้งหลาย
ในสมัยนั้น เรียกขานนามท่านว่า ท่านเจ้าคุณสังวราฯบ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพื่มขึ้นอีก เดือนละ ๒
บาท รวมเป็น ๒๔ บาท เทียบพระราชาคณะชั้นราช
ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธารามแล้ว
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยท่านเจริญรุ่งเรื่องมาก มีพระเถรพระมหาเถร
มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกันมากมาย มีปรากฏชื่อเสียงหลายท่านคือ
พระภิกษุพริ้ง (พระครูประสาธสิกขกิจ ) วัดบางประกอก พระภิกษุสด(พระมงคลเทพ
มุนี)วัดปากน้ำ พระภิกษุโต๊ะ (พระราชวังวราภิมนต์)วัดประดู่ฉิมพลี พระภิกษุกล้าย
(พระครูพรหมญาณวินิจ) วัดหงส์รัตนาราม พระภิกษุขัน (พระครูกสิณสังวร) วัดสระ
เกศ พระภิกษุเพิ่ม (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปานวัดบางนมโค มา
ศึกษากับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม)ไม่ทัน ท่านจึงไปศึกษากับ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประ
กอกฯ แทน ในกาลต่อมา
การศึกษาสมัยท่านครองวัด ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเอง พระ
ครูสังวรสมาธิวัตร(แป๊ะ) เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์ใหญ่ ทางด้านพระปริยัติธรรม พระ
มหาสอนเป็น พระอาจารย์ใหญ่ เรียนพระบาลีไปเรียนที่วัดประยูรวงศาวาสบ้าง วัดอรุณ
ราชวรารามบ้าง
ในสมัยที่ท่านครองวัด พระกรรมฐานเจริญรุ่งเรื่องมาก ถึงขนาดมีพระสงฆ์มา
ศึกษาพระกรรมฐานมากถึง ๒๐๐ รูปเศษ ท่านเป็นผู้เก็บรักษา เครื่องบริขารต่างๆของ
บูรพาจารย์พระกรรมฐาน ต่อจากพระอาจารย์ของท่าน มีบริขารของสมเด็จพระสังฆราช
(สุกไก่เถื่อน)เป็นต้น ปัจจุบันบริขารต่างๆได้เก็บรักษาไว้ใน พิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ปีพระพุทธศักราช. ๒๔๗๐ ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒
ธันวาคม ๒๔๗๐ รวมสิริรวมอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔ เมื่อท่านมรณะภาพไม่นาน มี
ผู้คนคณะสงฆ์ที่เคารพนับถือท่านได้มาที่วัดราชสิทธารามกันแน่นวัดมีเรือจอดที่คลอง
หน้าวัดแน่นขนัด เก็บสรีระของท่าน ไว้บำเพ็ญกุศลประมาณ ๑๐๐ วัน ระหว่างบำเพ็ญ
กุศลมีการจุดพลุตลอดทั้ง ๑๐๐ วัน เมื่อจะพระราชทานเพลิงศพทางวัด ได้จัดทำเมรุ ทำ
เป็นรูปทรงเขาพระสุเมรุราช ข้างพระเจดีย์ใหญ่หน้าวัดด้านใต้ พระราชทานเพลิงศพเมื่อ
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๐(นับเดือนไทย ตั้งแต่ เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๗๑)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์เสด็จมาเป็นองค์ประธาน พระราชทาน
เพลิงศพ ท่านเสด็จมาโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน เมื่อมาถึงทางวัดได้จัดการให้
พระองค์ท่านประทับนั่งอย่างสมพระเกียรติ (นั่งโต๊ะ) แต่พระองค์ท่านได้ตรัสว่า ฉันมา
เผาอาจารย์ฉัน แล้วพระองค์ท่านก็ให้พระสงฆ์ที่ติดตามท่านมาปูลาดอาสนะธรรมดา
ประทับนั่งลงกับพื้นในที่ชุมนุมสงฆ์แถวหน้า อย่างโดยไม่ถือพระองค์ กล่าวว่าท่านเป็น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์เดียว ที่เสด็จมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับจน
จบ กล่าวขานกันในสมัยนั้นว่าท่านเป็นพระมหาเถรองค์หนึ่งที่ บรรลุคุณวิเศษใน
พระพุทธศาสนา พระองค์ท่านจะมาศึกษาแบบส่วนพระองค์ในเวลาค่ำ หลังเสร็จราชกิจ
ทรงศึกษา กับพระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) ณ.วัดราชสิทธารามที่กุฏิหลังเขียว (ปัจจุบันรื้อ
ไปแล้วไปปลูกไว้ที่คณะ ๓)ใกล้เช้า พระองค์ท่านก็เสด็จกลับโดยเรือจ้าง (ไป กลับเรือ
จ้าง) พระองค์ท่านไม่ทรงใช้ ของเรือหลวง
เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงแล้ว คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการหล่อ
รูปเหมือนท่านประดิษฐานไว้ที่ มุมเจดีย์หน้าพระอุโบสถด้านทิศใต้ เป็นที่สักการบูชา
มาจนทุกวันนี้ นับแต่สิ้น พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)แล้ว ก็เกิดมีสำนักพระกรรมฐานต่างๆ
เกิดขึ้นมากมายในกรุงรัตนโกสินทร์ สภาพความเป็นวัดอรัญวาสีหลัก ที่วัดราชสิทธา
รามนี้ ก็เกือบจะหมดไปด้วย แต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน ก็ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 13083 reads
Recent comments