๓. ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)

 ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
00017

ประวัติพระญาณโพธิ์เถร (ขาว)
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) หรือพระอาจารย์ขาว ท่านเกิด ประมาณปีพระ
พุทธศักราช ๒๒๘๐–๒๒๘๑ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่าน
บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดน้อย ซึ่งเป็นวัดป่า แขวงกรุงศรีอยุธยา ท่านศึกษาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน อยู่ที่วัดน้อย
ต่อมาท่านได้ออกสัญจรจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ และพบกับพระอาจารย์สุก ที่
ป่าแขวงเมืองสิงหบุรี ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่
ต่อมาพระอาจารย์ขาว เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอาจารย์สุก ท่านจึง
มาขอ ศึกษาวิชาพระกรรมฐานเพิ่มเติม จากพระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ได้ถ่ายทอด
วิชาสยบจิต และวิชาฌานโลกุตระ ให้กับพระอาจารย์ขาว
ครั้นเมื่อท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก มาสถิตวัดท่าหอย แขวงกรุงเก่า ในสมัย
ธนบุรีนี้ ท่านจึงตามมาขอศึกษาวิชาการต่างๆเพิ่มเติมจากพระองค์ท่านอีก และบางครั้ง
ท่านก็ได้ช่วยพระอาจารย์สุก ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นใช้เอง เนื่องจากบาตรดิน บริขารเดิม
ของพระอาจารย์สุก เกิดชำรุด เสียหาย
ต่อมาเมื่อมีกุลบุตร เข้ามาบรรพชา-อุปสมบท ณ วัดท่าหอยมากขึ้น บริขาร
บางอย่างไม่พอใช้ เช่น บาตร เป็นต้น สหายธรรมที่จาริกมาในครั้งนั้น ก็ได้ช่วยพระ
อาจารย์สุก พระอาจารย์ของตน ปั้นบาตรดิน เผาขึ้นไว้ใช้สำหรับ บรรพชาอุปสมบท
เนื่องจากอยู่ในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ข้าวของบริขารบางอย่างหายาก
ต่อมามีกุลบุตรเข้ามาบรรพชา-อุปสมบท พระอาจารย์ขาว และเพื่อนสหธรรมิก
คือพระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์สี พระอาจารย์ศุก ทั้ง ๔ องค์ ท่านก็เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระอนุศาสนาจารย์ และเพื่อนสหายธรรมอื่นๆ ที่มาในครั้งนั้น ก็
ช่วยลงนั่งเป็นพระลำดับด้วย บางครั้งพระลำดับ ไม่ครบสงฆ์ปัญจวรรค ต้องไป
อาราธนานิมนต์ พระสงฆ์ตามป่า ตามเขามา
ครั้งแรกวัดท่าหอย ยุคต้นธนบุรี ยังไม่มีพัทธเสมา ทำสังฆกรรมอุปสมบท ต้อง
สวดสมมุติเสมาขึ้นมา พระอาจารย์ขาว เมื่อท่านมาสถิตวัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์สุก พระอาจารย์ ของท่าน ได้มอบ ไม้เท้าเบิกไพรให้ท่าน ๑ อัน เรียกว่าไม้เท้า ไผ่ยอดตาล
พระอาจารย์สุก ท่านได้ไม้เท้า ไผ่ยอดตาล มาจากจากถ้ำ ในป่าลึกแห่งหนึ่ง เป็น
ของบูรพาจารย์ ท่านทิ้งสังขารไว้ ในถ้ำแห่งนั้น พร้อมไม้เท้า เบิกไพร ไผ่ยอดตาล
พระพุทธศักราช ๒๓๒๗ ประมาณต้นปี พระอาจารย์ขาว ท่านได้เดินทางกลับ
จากป่า มาวัดท่าหอย ท่านทราบว่าพระอาจารย์สุกมากรุงเทพฯ ท่านจึงลาพระอาจารย์
มาก เจ้าอาวาสวัดท่าหอย ขอเดินทางมาช่วยงานพระอาจารย์สุก ที่วัดพลับ กรุงเทพฯ
และท่านได้สถิตวัดพลับตั้งแต่นั้นตลอดมา ต่อมาพระญาณสังวรเถร(สุก) แต่งตั้งให้ท่าน
เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม)
ครั้งนั้นบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่านเกิดชำรุด พระญาณสังวรเถร (สุก) จึง
ประทานบาตรดินเผาเดิมของพระองค์ท่านที่นำมาจากวัดท่าหอย ประทานให้แก่พระ
อาจารย์ขาว ใช้แทนบาตรดินเผา บริขารเดิมของท่าน ที่ชำรุด พระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระอาจารย์ขาว ได้เป็นถานานุกรมที่ พระครูธรรมรักขิต ของพระญาณสังวร
พระพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระครูธรรมรักขิต (ขาว) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูปลัด
ถานานุกรมของ พระญาณสังวร (สุก) เนื่องจากพระครูปลัดชิต ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิสุทธิเถร ( ท่านเจ้าคุณหอไตร)
พระพุทธศักราช ๒๓๕๙ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีชวด ได้รับ
พระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโพธิ์เถร คราว
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี) รับพระราชทานพัดงาสาน เมื่อท่านเป็นพระราชาคณะ
นั้น อายุท่านประมาณได้ ๗๙ ปี เหตุที่ท่านไม่ได้เป็นราชาคณะมาแต่ก่อนนั้น เพราะท่าน
ไม่ติดลาภยศ ได้ปฏิเสธเรื่อยมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ขอให้
ท่านรับเป็นพระราชาคณะ รับภารธุระทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงยอมรับ
ตำแหน่งที่ พระญาณโพธิ์นี้ ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา
ธุระ เติมคำว่า เถร เป็นพระพระญาณโพธิ์เถร ถ้าผู้ครองตำแหน่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายคันถะ
ธุระ ไม่มีคำว่า เถร เป็น พระญาณโพธิ์
พระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ประมาณปลายปี ร่วมกับพระเถรานุเถระ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย
ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโรค ห่าลงเมืองในรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำการสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
พระพุทธศักราช ๒๓๖๖ ท่านอาพาธลงด้วยโรคชรา กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์
เสด็จเยี่ยมอาการอาพาธของท่าน และมีพระดำริในพระทัยว่า ถ้าพระอาจารย์มรณะภาพ
ลง จะกราบบังคมทูลขอถวายเกียรติยศจากพระเจ้าแผ่นดิน (รัชกาลที่ ๒)ให้เป็นพิเศษ
เพื่อบูชาคุณธรรมของท่าน เพราะท่านเป็นพระอาจารย์ของกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ด้วย
องค์หนึ่ง ทรงนับถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่บรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา เพราะท่าน
ทรงคุ้นเคยกันมาแต่ครั้งทรงผนวชอยู่ที่วัดราชสิทธารามนี้ ๑ พรรษา
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ท่านทราบความดำรินี้ พระญาณโพธิ์เถร ได้กล่าวขึ้นมา
ลอยๆว่า ธรรมดาศิษย์ไม่ควรทำตัวเทียบ ตีเสมอพระอาจารย์
อาจารย์ในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กรมหมื่นเจษฏา
บดินทร์ ทรงสดับฟังดังนั้น ก็ทรงเข้าพระทัยดี ต่อมาเมื่อพระญาณโพธิ์เถร ถึงแก่
มรณะภาพลง เมื่อสิริรวมมายุได้ประมาณ ๘๖ ปี
พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) มรณะภาพภายหลัง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
๑ ปี(นับเดือนไทย) สรีระสังขารของ พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ทางวัดเก็บบำเพ็ญกุศลไว้
ได้ประมาณ ๑ ปีเศษ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ก็ถึงแก่มรณะภาพลงอีกองค์หนึ่ง และทางวัด
ก็ได้เก็บสรีระของ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) ไว้บำเพ็ญกุศลอีกประมาณ ๑ ปีเศษ ระหว่างเก็บ
สรีระบำเพ็ญกุศล พระมหาเถรทั้งสองท่านอยู่ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอ
ไตร ก็อาพาธถึงแก่มรณะภาพลงอีก เวลานั้นที่วัดราชสิทธาราม จึงมีการตั้งบำเพ็ญมหา
กุศล สรีระสังขารของ พระมหาเถรผู้ใหญ่ถึงสามท่าน
การตั้งบำเพ็ญกุศล อดีตพระมหาเถร ณ. ศาลาการเปรียญหลังเก่า หลังพระ
อุโบสถ เป็นประเพณีของผู้คนในครั้งนั้น ถ้าพระเถรผู้ใหญ่ที่มีผู้คนเคารพนับถือมาก
มรณะภาพลง จะเก็บสรีระสังขารของท่านไว้บำเพ็ญกุศลหลายปี ยกเว้นตำแหน่งสมเด็จ
พระสังฆราช สมเด็จราชาคณะ เมื่อครบ ๑๐๐ วัน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
พระราชทานเพลิงเลย
พระราชาคณะ พระครู พระถานานุกรม วัดราชสิทธาราม ที่ตั้งอยู่ในฐานะพระ
อาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และทรงนับถือว่าเป็นผู้บรรลุคุณ
วิเศษในพระพุทธศาสนานั้น นอกจากองค์พระอาจารย์ใหญ่คือ สมเด็จพระสังฆราช (ไก่
เถื่อน)แล้ว ยังมี พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) ๑ พระพรหมมุนี (ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร ๑ พระ
วินัยรักขิต (ฮั่น) ๑ พระครูวินัยธรรมกัน ๑ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า) ๑ พระญาณโกศล
เถร (มาก) ๑ พระเทพโมลี (กลิ่น) ๑ พระปิฏกโกศลเถร (แก้ว) ๑ พระญาณสังวร (ด้วง) ๑
พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ๑ พระญาณสังวร (บุญ) ๑ พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ๑ เพราะ
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงคุ้นเคย ทรงเคยมีพระ
ราชปฎิสันฐาน ทรงเคยทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษวัตรปฏิบัติปฏิปทาอันงดงาม มาแต่
ครั้งทรงผนวชอยู่ ณ. วัดราชสิทธาราม หนึ่งพรรษา ภายหลังรงลาผนวชแล้วยังได้ทรงติดตามเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ มาวัดราชสิทธารามเสมอเนืองๆ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินมาวัดราชสิทธารามบ่อยครั้ง เช่นคราวเสด็จ
พระราชดำเนินมา ทรงทอดผ้าพระกฐินทาน เป็นต้น อีกทั้งพระมหาเถระ ที่กล่าวนาม
มาแล้วในที่นี้ก็ตั้งอยู่ในฐานะพระอาจารย์ของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) และพระมหา
เถรทั้งหมดที่กล่าวนามมาแล้วนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี นับถือมาก
เพราะเป็นพระมหาเถรรุ่นอาจารย์ของท่าน สมัยครั้งยังศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
ลำดับ อยู่ในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก) ไก่เถื่อน