๕. ประวัติพระพรหมมุนี(ชิต)

ดู ๑. ประวัติพระพรหมมุนี (ชิต) จากหนังสือ ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม

00004

ประวัติพระพรหมมุนี(ชิต)
( ท่านเจ้าคุณหอไตร อดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ ๒)
พระพรหมมุนี หรือ พระอาจารย์ชิต ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช
๒๒๘๐ - ๒๒๘๑ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แขวงเมืองสิงห์บุรี เมื่อท่านเจริญวัยอายุย่างเข้า ๒๐ แล้ว ท่านมีศรัทธา เข้าถือศีลฟังธรรม เจริญพระกรรมฐาน ถือเพศเป็นปะขาว นุ่งขาว ห่มขาว ออกเที่ยวจาริกธุดงค์ ไปตามวัด ไปตามป่าเขา นั่งบำเพ็ญสมณธรรมตามวัดบ้าง ตามป่าบ้าง ตามถ้ำบ้าง สืบเสาะแสวงหา วิชาความรู้ กับครูบาพระอาจารย์ตามป่าเขา ตามวัดวาอาราม และตามสถานที่ต่างๆเรื่อยไป จนกระทั้งบางครั้งท่านสามารถใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิตบางอย่าง เสกเป่าใบมะขามเป็น ตัวต่อตัวแตนได้ในบางครั้ง
 สมัยปลายอยุธยา ถึงต้นกรุงธนบุรี มีอุบาสกมากมาย เกิดมีความสังเวศสลดใจ
เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ถือเพศเป็นปะขาวกันมาก ชอบเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีมากมายในยุคนั้นสมัยนั้น ใช้กลดขาว มุ้งกลดขาว ธุดงค์ไปนมัสการตามสถานที่สำคัญต่างๆเช่น เขาพระพุทธบาท พระแท่นดงรัง เป็นต้น สถานที่เหล่านั้นเมื่อถึงเทศกาลนมัสการ ก็จะมีทั้งพระภิกษุ ปะขาว ชี มาปักกลดในบริเวณสถานที่เหล่านั้นกันมากมายและท่านเหล่านั้นจะได้พบปะกับสหายธรรมมากมาย ได้ทำการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน
บริเวณที่พระภิกษุปักกลดก็จะมีกลดสีกลักเต็มไปหมด บริเวณปะขาว หรือพวก
แม่ชี ที่มีสมาธิจิตกล้าแข็ง ก็จะออกสัญจรจาริก มาปักกลด และก็จะมีกลดสีขาวเต็มพรึด
ไปหมด เหมือนดอกเห็ด ซึ่งปะขาวชิต ท่านก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ท่านปะขาว
มักจะไม่อยู่ในสถานที่เช่นนั้นนานๆ ท่านมักหลบออกไปหาความสงบ วิเวก ตามป่าเขา
เพียงลำพังผู้เดียวเสมอ
วันหนึ่ง ท่านปะขาวชิต ท่านได้พบกับพระอาจารย์สุก ในป่าแห่งหนึ่ง แขวงเมือง
สิงห์บุรี ท่านปะขาวชิตเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระเมตตาธรรมของพระอาจารย์สุก
ภายหลังเมื่อท่านทราบข่าวว่า พระเจ้าตากสินกู้อิสระภาพคืนจากข้าศึกได้แล้ว และตั้ง
กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาท่านได้ทราบข่าวอีกว่าพระอาจารย์สุก กลับมาสถิตวัดท่า
หอยแล้ว
ท่านปะขาวชิต มีความปีติ ยินดีมาก จึงเดินทางจาริกมาวัดท่าหอย ขอบรรพชา-
อุปสมบท กับพระอาจารย์สุก ท่านปะขาวชิต บรรพชา-อุปสมบทครั้งนั้น ชนมายุของ
ท่านได้ประมาณ ๒๘ ปี เหตุที่ไม่ได้บรรพชา-อุปสมบทมาแต่ก่อนในคราวอายุ ๒๐–๒๑
ปีนั้น เพราะเหตุว่า ท่านยังไม่อยากจะอุปสมบท และเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาของท่าน ต่อมา
เมื่อท่านได้พบกับพระอาจารย์สุกแล้ว ท่านเห็นว่า ถึงเวลาที่ท่านจะบรรพชาอุปสมบท
ศึกษาบำเพ็ญสมณธรรมอย่างจริงจังเสียที่ เพราะได้อาจารย์ดีมีความรู้สามารถมาก ทั้งทางวิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ท่านปะขาวชิต ได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธเสมา วัดท่าหอย โดยมีพระอาจารย์
สุก ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศุก พระอาจารย์สี สหายธรรม ของพระอาจารย์
สุก เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วในพรรษานั้นเอง ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ท่านปฏิบัติพระกรรมฐานไม่ถึงพรรษาดีนัก ท่านก็จบ
ทั้งสมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ เพราะท่านมีพื้นฐานมาดีก่อนแล้ว จึงเล่าเรียนได้
เร็วไว ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ ไปตามสถานที่
ต่างๆ แต่ลำพังองค์เดียว บำเพ็ญสมณะธรรม หาความสงบวิเวกตามป่าเขา เนื่องจากท่าน
มีความชำนาญในการออกรุกขมูล มาตั้งแต่ถือเพศเป็นปะขาวแล้ว
พรรษานั้น ท่านเจริญสมณะธรรม ได้บรรลุมรรคผลตามลำดับ โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อานาคามีมรรค อนาคามีผล ตามลำดับ
พร้อมด้วยมรรค ๓ ผล ๓ และอภิญญาหก เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็น
ศิษย์เอก เป็นกำลังสำคัญให้กับพระอาจารย์สุก และพระศาสนา ในกาลต่อมา ท่านเป็นผู้
มีวัตรปฏิบัติมั่นคง เสมอต้น เสมอปลาย
พระอาจารย์ชิต ท่านมีไม้เท้าเบิกไพร ๑ อัน เรียกว่าไม้เท้าเถาอริยะ ท่านได้จากถ้ำ
แห่งหนึ่งในป่าลึก เป็นของพระบูรพาจารย์แต่ก่อนเก่า ซึ่งท่านมาละสังขาร และทิ้งไม้
เท้าเบิกไพรเถาอริยะไว้ที่ถ้ำแห่งนี้
ครั้งเมื่อพระอาจารย์ชิต ยังถือเพศเป็นปะขาวอยู่นั้น ท่านได้เดินทางจาริกมา
บำเพ็ญสมณะธรรมในถ้ำแห่งนั้นและพบไม้เท้าเถาอริยะเข้า กล่าวว่าเทวดาผู้พิทักษ์
รักษาไม้เท้าเถาอริยะบอกถวายให้ท่าน แต่ครั้งนั้นท่านยังมิได้นำเอาไม้เท้าเถาอริยะอัน
นั้น ออกมาจากถ้ำแห่งนี้ เพราะท่านเห็นว่าไม้เท้าเถาอริยะนี้ ควรเป็นของบุคคลที่ถือเพศ
เป็นบรรพชิตเท่านั้น ต่อมาภายหลัง เมื่อท่านบรรพชา-อุปสมบท และบรรลุมรรคผลแล้ว
ท่านจึงได้จาริกมาที่ถ้ำแห่งนี้อีกครั้ง และได้นำไม้เท้าเถาอริยนี้ออกมา ใช้เบิกไพร แผ่
เมตตา เป็นไม้เท้าประจำตัว คู่บารมี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๑๔๕
ตรงกับปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ พระอาจารย์ชิต เป็นพระสงฆ์อนุจรติดตาม พระ
อาจารย์สุก มากรุงเทพฯ สถิตวัดพลับ
ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็น พระปลัด ถานานุกรมชั้นที่หนึ่ง
รับภาระธุระหน้าที่ช่วยดูแล งานด้านการบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในวัด
พลับองค์แรก ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยของ พระญาณสังวรเถร (สุก) และท่านทำ
หน้าที่เป็น พระอุปัฏฐาก ปรนนิบัติรับใช้ พระญาณสังวรเถร (สุก) ด้วย ท่านจะไม่ยอมรับอาราธนาไปกิจนิมนต์นอกวัด เว้นแต่จะตามพระญาณสังวรเถร
(สุก)ไป ท่านชอบสถิตและจารหนังสือ เจริญภาวนา จำวัด อยู่ณ.บนหอไตรของวัดเสมอ
เวลาท่านไม่อยู่บนหอไตรคือ เวลาที่ไปอุปัฏฐากพระญาณสังวรเถร (สุก) หรือตามพระ
ญาณสังวรเถร ไปกิจธุระนอกพระอาราม
ท่านเป็นผู้มั่นคงด้วยอุปัชฌายวัตร อุปัฏฐากวัตร มีความสันโดด มักน้อย ตราบ
เท่าจนตลอดชีวิตของท่าน,ท่านประพฤติปฎิบัติตนอย่างสม่ำเสมอเช่น เคยต้มน้ำฉันถวาย
พระญาณสังวรเถร (สุก) เมื่อก่อนเคยปฏิบัติอย่างไร ขณะท่านแก่ชราแล้วท่าน ก็ยัง
ประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น สมัยแรกท่านสถิตอยู่บนหอไตรของวัด ตอนแก่ชราภาพลงแล้ว
ท่านก็อยู่บนหอไตรอย่างเดิมเสมอ
พระสงฆ์ที่มาอยู่วัดพลับสมัยแรกๆ ต้องจารหนังสือใบลานเองทุกองค์ รวมทั้ง
ท่านพระปลัดชิตด้วย บางครั้งพระปลัดชิต ต้องจารวิชาการต่างๆลงไปในใบลาน และ
สมุดข่อยไทยดำ ตามคำบอกของพระญาณสังวรเถร (สุก) เนื่องจากตำราต่างๆในสมัยนั้น
หายาก เพราะส่วนมากเป็นของชำรุด ส่วนหนึ่งสูญหายแตกกระจายไปเมื่อครั้งกรุงแตก
มีเป็นจำนวนมาก
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๗–๒๓๒๘ พระปลัดชิต ได้เลื่อนเป็นที่ พระครูปลัดชิต ถานานุกรม ของพระญาณสังวร (สุก)
และช่วยพระญาณสังวรเถร (สุก) ทำพระพิมพ์อรหัง จำนวนหนึ่ง สำหรับแจก
เพื่อเป็นบาทฐานของพระกรรมฐาน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านพระครูปลัดชิต ได้รับ
พระราชทานแต่งตั้งให้ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิสุทธิเถร พระ
คณาจารย์เอก รับพระราชทานพัดงาสาน
ถ้าเป็นพระสงฆ์ฝ่ายคันถะธุระตัดคำว่า เถร ออก ปีที่ท่านเป็นพระราชาคณะ เป็น
ปีที่สถาปนาพระสังฆราช (ศุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระสังฆราชองค์ที่สอง แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ หลังจากท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯเป็นพระราชาคณะแล้ว พระญาณสังวรเถร (สุก)อุปัชฌาย์ของท่าน ทรงมอบให้พระญาณวิสุทธิเถร ดูแลพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทั้งหมด
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๒ ปลายปี เข้าร่วมทำพิธีอาพาธพินาส เจริญพระปริต
รัตนสูตร ปราบอหิวาตกโลก ห่าลงเมืองในรัชกาลที่๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เป็นคณะกรรมการควบคุมการทำสังคายนาพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อวันอังคาร แรม ๘ ค่ำ เดือน ๒
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เนื่องจากสมเด็จ พระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) สิ้นพระชนม์ลง และอยู่ระหว่างการบำเพ็ญพระราชกุศล
พ.ศ. ๒๓๖๕ ประมาณปลายเดือน ๑๒ เป็นแม่กองงาน หล่อพระรูปสมเด็จ
พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ร่วมกับทางสำนักราชวัง
ถึงคราวมีกิจนิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) นั่งหน้า
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เหตุว่ามีพรรษายุกาลมากกว่า พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) มี
พรรษายุกาลมากกว่า สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ถึง ๒๐ พรรษา และเป็นพระอาจารย์
บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) มาแต่ก่อนด้วย
เนื่องจากทำเนียบตำแหน่งพระราชาคณะผู้ใหญ่ ฝ่ายอรัญวาสีไม่มีตำแหน่งว่าง
แต่พระญาณวิสุทธิเถร(ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร เวลามีกิจนิมนต์เข้าไปใน
พระบรมมหาราชวัง ท่านนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
เจ้ากรมอาลักษณ์ ตั้งราชทินนามพระราชาคณะผู้ใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี นอกทำเนียบขึ้นมา
ใหม่เป็นการเฉพาะ เนื่องจากตำแหน่งราชาคณะผู้น้อย จะนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราชนั้น
ไม่เหมาะสมนัก ต่อมาเจ้ากรมอาลักษณ์ ถวายพระราชทินนามที่ พระธรรมมุนี พระ
เจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัย
ถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย จุลศักราช ๑๑๘๔ ตรงกับพระพุทธศักราช
๒๓๖๕ เป็นปีที่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อน
พระญาณวิสุทธิเถรเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมมุนี
สำเนา แต่งตั้ง
ให้พระญาณวิสุทธิเถร (ชิต) เลื่อนที่เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมมุนี ศรี
วิสุทธิญาณ สัตตวิสุทธิ์ จริยาปรินายก สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตวัด
ราชสิทธาวาส พระอารามหลวง
เทียบตำแหน่งเจ้าคณะอรัญวาสี เป็นพระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
พระราชทานนิตยภัต ๔ ตำลึงกึ่ง(๒ บาท ) ตั้งถานานุกรมได้ ๕ รูป พระครูปลัด ๑ พระ
ครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฏีกา ๑ พระราชทานพัดแฉก
ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ๑ กับพัดงาสาน ๑ เป็นปีที่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ
พระธรรมมุนี (ชิต) เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ต่อมาจากสมเด็จ
พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์ที่สอง ของวัด
ราชสิทธาราม (พลับ) ปรกติท่านมีปกตินิสัยรักสันโดด ชอบสถิตอยู่บนหอไตร ของวัด
เสมอ เพราะเป็นสถานที่สงบเงียบ ท่านสถิตอยู่บนหอไตร ตั้งแต่มาอยู่วัดพลับครั้งแรก
จนตราบเท่าถึงสิ้นอายุขัยของท่าน คนทั้งหลายมักเรียกขานนามของท่านว่า ท่านเจ้าคุณ
หอไตร จนติดปาก ต่อมาสมัยในหลังๆ ไม่มีใครรู้จักราชทินนามสมณะศักดิ์ของท่าน
เพราะท่านถือความสันโดด มักน้อย อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ตลอดชนชีพของท่าน เมื่อ
แรกมาสถิตวัดพลับ เคยปฏิบัติอย่างไร ปั้นปลายชีวิตของท่าน ก็ประพฤติปฏิบัติเหมือน
อย่างนั้น
อธิบายศัพท์ ธรรมมุนี
ธรรม หมายความว่า สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ สภาวธรรม คุณความดี
ความประพฤติชอบ ความยุติธรรม มุนี หมายความว่า นักปราชญ์ ผู้สละเรือน
ทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่
ทะเยอทะยานฝันใฝ่ความหมายเหล่านี้เป็นลักษณะคุณสมบัตินิสัยของพระธรรมมุนี(ชิต)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งราชทินนามนี้ขึ้นใหม่ ถวาย
เฉพาะพระญาณวิสุทธิ์เถร(ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร ภายหลังจากท่านเลื่อนที่จากพระ
ธรรมมุนี เลื่อนที่ขึ้นเป็นพระพรหมมุนีแล้ว จึงทรงยกเลิกตำแหน่ง พระธรรมมุนี
ตำแหน่งพระธรรมมุนีนี้เทียบเท่าพระราชาคณะผู้ใหญ่ตำแหน่งที่ พระพรหมมุนี
เนื่องจากเวลานั้น พระพรหมมุนี (นาค) วัดราชบูรณะ ยังคงดำรงตำแหน่งนี้อยู่
ท่านดำรงตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ ปีที่สถาปนา สมเด็จพระญาณ
สังวร (สุก) ต่อมาประมาณเดือนหก จุลศักราช ๑๑๘๕ ตรงกับปีพระพุทธศักราช
๒๓๖๖ ปลายรัชกาลที่๒ ห่างจากการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน)ประมาณ ๕
เดือน พระธรรมอุดม (ไม่ทราบวัด) ได้ถึงแก่มรณภาพลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อน พระพรหมมุนี (นาค) ขึ้นเป็นพระธรรมอุดม แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนพระธรรมมุนี (ชิต) เป็นที่ พระพรหมมุนี
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ ประมาณปลายปี เริ่มเข้ารัชกาลที่ ๓ พระธรรมมุนี
(ชิต) เลื่อนที่เป็น พระพรหมมุนี เนื่องจากพระพรหมมุนี (นาค) วัดราชบูรณะ เลื่อนที่
เป็น พระธรรมอุดม พระพรหมมุนี (ชิต)ได้รับพระราชทาน นิตยภัต ๕ ตำลึง เป็นเจ้า
คณะใหญ่อรัญวาสี เทียบเท่าตำแหน่งพระพุฒาจารย์เดิม เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์
(เป้า) ไปสถิตวัดธรรมาวาส แขวงกรุงเก่า อันเคยเป็นที่สถิตของ พระอุบาลี สมัยพระ
เจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้ไปประดิษฐานพระศาสนา
ในลังกาทวีป
ให้พระธรรมมุนีเป็น พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณ สัตตวิสุทธิ จริยาปรินายก
สปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตในวัดราชสิทธาวาส พระอารามหลวง
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มีนิตย์ภัต ๕ ตำลึง มีถานานุศักดิ์ควรตั้ง ถานานุ
กรมได้ ๘ รูป พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูศัพทสุนทร ๑
พระครูอมรโฆสิต ๑ พระครูสมุห์๑ พระครูใบฏีกา ๑ พระครูธรรมรักขิต ๑ รับ พระราชทานพัดสองเล่ม พัดงาสาน เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๑ พัดทรงแฉกพุ่ม
ข้าวบิณฑ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ๑ เล่ม ทำหน้าที่แทนตำแหน่งสมเด็จพระพุฒา
จารย์ (เป้า) เนื่องจากวัดพลับ เป็นสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่
แทนวัดป่าแก้วสมัยอยุธยา เจ้าอาวาสจึงทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี
ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีไม่มากเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในสมัยกรุง
ศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสีอยู่ถึง ๑๐ กว่าวัด ตำแหน่งพระพุฒาจารย์ จึงมีวัดอยู่ในบังคับ
บัญชา และจึงคุมคณะอรัญวาสีทั้งหมด แต่กรุงรัตนโกสินทร์มี วัดอรัญวาสีเพียง ๒ วัด
คือวัดพลับ และวัดราชาธิวาส จึงไม่พอตั้งเป็นคณะได้ จึงยกตำแหน่งสมเด็จพระพุฒา
จารย์ ขึ้นเป็นคณะกิตติมศักดิ์เท่านั้น
เมื่อมีกิจนิมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระพรหมมุนี (ชิต) นั่งหน้าสมเด็จ
พระสังฆราช (ด่อน) เพราะมีพรรษายุกาลมากกว่า อีกทั้งยังเป็นพระอาจารย์กรรมฐาน
องค์ที่สอง ของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) กับพระมหาเถร ผู้ใหญ่ ผู้น้อยทั้งปวงในสมัย
นั้น และเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์ที่สอง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๓ ครั้งทรงผนวชอยู่วัดราชสิทธาราม หนึ่งพรรษา
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถืออาวุโสทางอายุพรรษาตามพระ
ธรรมวินัย มากกว่าสมณะศักดิ์ จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานาน มาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึง
ทรงให้ถืออาวุโส ทางผู้มีสมณะศักดิ์สูงนั่งหน้า พระมหาเถรทั้งปวง ทรงยกเลิกอาวุโส
ทางอายุพรรษา ตั้งแต่นั้นมา
อธิบายคำว่า พรหม หมายความว่า ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มุนี
หมายความว่า ผู้สละเรือนแล้ว มีจิตใจตั้งมั่น ไม่เกาะเกี่ยว ติดพัน ในลาภ ยศ สุข
สรรเสริญ สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานอยากมีอยากเป็น คำอธิบายนี้เป็นอุปนิสัย ของพระ
พรหมมุนี (ชิต)
ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีสร้อยราชทินนามเหมือนกันห้าองค์ ต่างกันตรงคำแรก
นอกนั้นเหมือนกัน
๑. สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดพลับ คำแรกคือ อดิศรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๒. พระพรหมมุนี (ชิต) วัดพลับ คำแรกคือ ศรีวิสุทธิญาณ นอกนั้น
เหมือนกัน
๓. พระพุทธาจารย์ (สนธิ์) วัดสระเกศ คำแรกคือ ญาณวรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๔. พระญาณสังวร (ด้วง) วัดพลับ คำแรกคือ สุนทรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
๕. พระญาณสังวร (บุญ) วัดพลับ คำแรกคือ สุนทรสังฆเถรา นอกนั้น
เหมือนกัน
ตำแหน่ง พระญาณสังวรเถร (ด้วง) พระญาณสังวรเถร (บุญ) ต่อมาเลื่อนที่ขึ้น
เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ในราชทินนามเดิม ตัดคำว่า เถร ออก นอกนั้นเหมือนกัน
ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๗ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ฉอศก พระธรรมมุนี (ชิต)
พร้อม ถานานุกรมชั้นต้น ๕ รูป พระเทพโมลี (กลิ่น) พร้อมถานานุกรม ๔ รูป เข้ารับ
พระราชทานเทียนพรรษาประจำปี ณ. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ดังนี้

-----------------------------------
๐พระราชาคณะ ๑ (พระพรหมมุนี ชิต )
ถานานุกรม ๕
วัดราชสิทธิ์ เปรียญสามประโยค ๑
อาจารย์วิปัสสนา ๑ รวม ๑๔
คู่สวดนาค-กฐิณ ๒
คู่สวดภาณยักษ์ ๔ ทั้งหมด ๒๒ รูป
๐พระราชาคณะ ๑ (พระเทพโมลี กลิ่น)
ถานานุกรม ๔ รวม ๘
อาจารย์วิปัสสนา ๑
คู่สวดภาณยักษ์ ๒
(จากหมายรับสั่ง รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๑๘๖ เลขที่ ๓๖ สมุดไทยดำ )
-------------------------------------------
ประมาณต้นปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสีโดยตรง
เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(เป้า) วัดธรรมาวาส กรุงเก่า ได้มรณะภาพลง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ยังมิได้สถาปนาตำแหน่ง (สมเด็จ) พระพุฒา
จารย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า เมื่อ
พระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า)แล้ว จะสถาปนาพระพรหมมุนี (ชิต)
วัดราชสิทธาราม เป็นพระพุฒาจารย์ แต่พระพรหมมุนี (ชิต) ก็มามรณะภาพลงเสียก่อน
ประมาณปีพระพุทธศักราช. ๒๓๖๘ พระพรหมมุนี (ชิต) วัดราชสิทธาราม
มรณะภาพลงนั้น ตำแหน่งพระพรหมมุนี ได้ว่างลงถึง ๖ ปี ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๓ จึง
ทรงแต่งตั้งพระญาณวิริยะ (สนธิ์) วัดสระเกศ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพรหมมุนี
เพราะพระพุฒาจารย์ (สนธิ์)เป็นศิษย์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จ
พระสังฆราช (ไก่เถื่อน) และเป็นศิษย์พระพรหมมุนี (ชิต) วัดราชสิทธาราม ครั้งนั้นจึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ยังไม่มีพระเถรองค์ใดเหมาะสมกับ
ตำแหน่งนี้ เพราะตำแหน่งพระพุฒาจารย์ต้องเชี่ยวชาญพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
และเป็นพระคณาจารย์เอกด้วย ครั้งนั้นทางการคณะสงฆ์ก็ยังมีความวุ่นวายอยู่มาก
ตำแหน่งพระพุฒาจารย์จึงว่างลงถึง ๑๗ ปี คือตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ ถึงปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๘๕ ต่อมาถึงปีพระพุทธศักราช ๒๓๘๖ จึงทรงแต่งตั้ง พระพรหมมุนี
(สนธิ์)วัดสระเกศ ขึ้นดำรงตำแหน่งพระพุฒาจารย์ ญาณวราฯ เพราะพระพุฒาจารย์
(สนธิ์)ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแต่เดิมจากวัดพลับ สมัยพระญาณ
สังวรเถร (สุก) ยังทรงพระชนม์อยู่ และพระพุฒาจารย์(สนธิ์)ก็มีคุณธรรมสูงมากแล้ว
การศึกษาสมัยพระพรหมมุนี(ชิต) ครองวัดราชสิทธาราม
การศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมี พระพรหมมุนี (ชิต) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย
วิปัสสนาธุระ พระอาจารย์ผู้ช่วยบอกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมี พระญาณโพธิ์เถร
(ขาว) ๑ พระครูกิจจานุวัตร (สี )๑พระครูวินัยธรรมกัน ๑พระญาณสังวรเถร (ด้วง) ๑
พระครูญาณมุนี (สน) ๑ พระครูญาณกิจ (ด้วง) ๑ พระอาจารย์กลิ่น (คนละองค์กับมหา
กลิ่น) ๑ พระอาจารย์คำ ๑ พระครูศีลวิสุทธิ์ (รุ่ง) ๑ พระครูศีลสมาจารย์ (บุญ) ๑ พระ
ปลัดมี ๑ พระปลัดเมฆ ๑ ฯ
การศึกษาด้านพระปริยัติธรรม พระบาลีมูลกัจจายน์มี พระวินัยรักขิต (ฮั่น) เป็น
พระอาจารย์ใหญ่ เมื่อพระวินัยรักขิต มรณะภาพลงแล้ว พระเทพโมลี (กลิ่น) เป็นพระ
อาจารย์ใหญ่ มีพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกหนังสือปริยัติธรรมพระบาลีคือ พระปิฏกโกศลเถร
(แก้ว) ๑ พระมหาทัด ๑พระมหาเกิด ๑ และยังมีอีกหลายท่านไม่ปรากฏนาม
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๘ พระพรหมมุนี (ชิต) ท่านปกครองวัดราช
สิทธาราม (พลับ) อยู่ประมาณ ๒ ปี ๖เดือนเศษ ท่านก็ถึงแก่มรณะภาพลงด้วยโรคชรา
เมื่อสิริรวมอายุได้๘๘ ปี
ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพลงในปีนั้น ท่านได้ออกเดินทางไปที่ถ้ำในป่าแห่งหนึ่ง
ท่านเดินทางไปทางเรือ ไปขึ้นบกเมื่อใกล้เขตป่าใกล้ถ้ำแห่งนั้น เพราะเวลานั้นท่านมีชน
มายุมากแล้วถึง ๘๘ ปี การไปครั้งนั้นท่านไปกับ พระอาจารย์คำ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น
พระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๖๔ และต่อมาพระพรหมมุนี (ชิต)ได้อาพาธ และถึงแก่มรณะภาพลงที่ถ้ำแห่งนั้นกล่าวว่าท่านให้พระอาจารย์คำ พยุงพาท่านเข้าไปในซอกถ่ำลึกที่ท่านเคยเข้าไป
เข้าฌานสมาบัติแต่ก่อนนั้น เมื่อคราวออกสัญจรจาริกธุดงค์ ก่อนมรณะภาพท่านได้สั่งไว้
กับ พระอาจารย์คำ ว่าไม่ต้องนำเอาสรีระสังขาร กับบริขารของท่านกลับวัดพลับ ให้
เอาไว้ในถ้ำแห่งนี้ จะได้ไม่เป็นภาระยุ่งยากแก่ผู้อื่น ท่านตั้งใจไว้อย่างนี้ เหตุที่ท่านไป
มรณะภาพในป่าก็ด้วยเหตุ ดังนี้…………..
ท่านไม่ต้องการให้สรีระสังขารของท่านเป็นภาระแก่ผู้อื่น เนื่องจากถ้าท่าน
มรณะภาพลงที่วัด ทางคณะศิษยานุศิษย์ฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส จะต้องเก็บสรีระของท่าน
ไว้บำเพ็ญกุศลนานหลายปี ตามประเพณีนิยมในครั้งนั้น จะเป็นที่วุ่นวาย ทำให้ภายในวัด
ไม่สงบ เสียเวลาการบำเพ็ญเพียรภาวนาของผู้อื่น เนื่องจากท่านเป็นพระมหาเถระที่มี
ชื่อเสียงมีผู้คนเคารพนับถือ ยำเกรงท่านมากในสมัยนั้น รองลงมาจากสมเด็จ
พระสังฆราช ไก่เถื่อน อีกทั้งในเวลานั้น ที่วัดราชสิทธาราม ก็ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ อดีต
พระมหาเถรผู้ใหญ่แล้วถึงสองศพคือ พระญาณโพธิ์เถร (ขาว) พระวินัยรักขิต (ฮั่น) อีก
ประการหนึ่งท่านไม่ต้องการ เข้าโกศ เพราะท่านไม่ต้องการเทียบชั้น ตีเสมอ องค์พระ
อาจารย์ คือสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน นี่เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของท่าน และของ
พระสมถะทั้งปวงในวัดราชสิทธาราม (พลับ) ครั้งนั้นคณะสงฆ์ในกรุงรัตนโกสินทร์
กำลังวุ่นวาย ท่านจึงหนีความวุ่นวายนี้ด้วย
พระอาจารย์คำ กลับมารายงานทางวัดให้ พระเถรผู้ใหญ่ทราบ ทางวัดก็ได้
รายงานให้ทางราชสำนักทราบ สมัยนั้นพระราชาคณะมรณะภาพลง ต้องกราบบังคมทูล
ลามรณะภาพตามธรรมเนียม เมื่อทางราชสำนักทราบ ก็เตรียมโกศ สำหรับเจ้าคณะใหญ่
อรัญวาสี มาสำหรับใส่สรีระสังขารท่าน มาในครั้งนั้นด้วย แต่มาแล้วก็ต้องเอาโกศนั้น
กลับไป เพราะพระศพของท่านไม่อยู่ที่วัด ท่านได้สั่งไว้กับพระอาจารย์คำ ไว้ในเรื่องนี้
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงทราบฝ่าพระบาท ทรงเสีย
พระราชหฤทัยมาก ต่อมาทางราชการ และคณะสงฆ์ ได้จัดการบำเพ็ญอุทิศส่วนกุศล ๗
วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วันให้กับท่านตามประเพณี ระหว่างบำเพ็ญกุศล พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส ทุก
คราว สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายคณะสงฆ์ สรีระสังขารของ
ทั้งสององค์ สรีรสังขารของพระพรหมมุนี (ชิต) ซึ่งไม่มีอยู่ แต่ยังเก็บไว้บำเพ็ญกุศลอีก
ขณะบำเพ็ญกุศลอยู่ พระญาณวิสุทธิเถร (เจ้า) เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดพลับ
เพราะพระเทพโมลี(กลิ่น)ยังอาพาธอยู่ หลังจากพระเทพโมลี (กลิ่น)หายจากอาพาธแล้ว
จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม

พระครูสิทธิสังวร รวบรวม